วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

     อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลกโดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและวุ่นวายจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโ อ่านเพิ่มเติม

เครือข่ายภายนอกองค์กร

เครือข่ายภายนอกองค์กรหรือเอกซ์ทราเน็ต (Extranet)

5) เครือข่ายภายนอกองค์กรหรือเอกซ์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อเครือข่ายภายในองค์กรเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ขายสินค้าสาขาหรือลูกค้า โดยจะอนุญาตและควบคุมให้เฉพาะสมาชิกขององค์กรหรือผู้ที่ได้รับสิทธิใช้งานเท่านั้น เช่น การเข้าใช้งานระบบฐานข้อมูลบนแม่ข่าย (server)ในบริษัท เป็นต้น ทำให้ติดต่อสื่อสารกันได้ฉับไว ทันเหตุการณ์ ลดค่าใช้จ่าย และเวลาในการทำงานบางด้านของอ อ่านเพิ่มเติม

เครือข่ายภายในองค์กร

เครือข่ายภายในองค์กรหรืออินทราเน็ต(Intranet)

4) เครือข่ายภายในองค์กรหรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นระบบเครือข่ายที่นำเทคโนโลยีแบบเปิดจากอินเตอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ภายในองค์กร เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และการทำงานต่างๆ ร่วมกันของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งานให้อยู่ภายในองค์กรเท่านั้น เช่น การใช้งานเครื่องบริการเว็บ (web server) ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพั อ่านเพิ่มเติม

เครือข่ายบริเวณกว้าง

  เครือข่ายบริเวณกว้าง (WAN: Wide Area Network)

    เป็นเครือข่ายที่นำ LAN และ MAN มาเชื่อมต่อกัน ใช้ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางเป็นระยะทางหลาย ๆ กิโลเมตร จนถึงระดับประเทศ ทวีป การเชื่อมต่อในระบบเครือข่าย WAN ส่วนใหญ่จะใช้สายที่เป็นบริการทั่วไป เช่น โทรศัพท์ การเช่าคู่สายวงจรตายตัว (leased line) การใช้ดาวเทียม การใช้สัญญาณไมโครเวฟ และสัญญาณอื่น ๆ ที่สามารถส่งผ่านระยะทาง อ่านเพิ่มเติม

เครือข่ายนครหลวง

เครือข่ายนครหลวง  (Metropolitan Area Network : MAN) 
   หมายถึง ระบบเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่กว่าเครือข่ายท้องถิ่น แต่อาจเชื่อมต่อกันด้วยระบบการสื่อสารสำหรับสาขาหลาย ๆ แห่งที่อยู่ภายในเขตเมืองเดียวกันหรือหลายเขตเมืองที่อยู่ใกล้กัน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร เช่นการให้บริการทั้งของรัฐและเอกชน อาจเป็นบริการภายใน หน่วยงานหรือเป็นบริการสาธารณะก็ได้ รวมถึงการให้บริการระบบโทรทัศน์ทางสาย (Cable television) เช่น บริษัท UBC ซึ่งเป็นระบบที่มีสายเคเบิลเพียงหนึ่งหรือสองเส้นโดยไม่มีอุปกรณ์สลับช่อง สื่อสาร (switching element) ทำหน้าที่เก็บกักสัญญาณหรือปล่อยสัญญาณออกไปสู่ระบบอื่น มาตรฐานของระบบ อ่านเพิ่มเติม

เครือข่ายคอมพิวเตอร์เฉพาะที่หรือแลน

ระบบเครือข่ายแบบ LAN หรือระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ 
โดยปกติแล้วจะเป็นระบบเครือข่ายส่วนตัว (Private Network) นั่นคือองค์กรที่ต้องการใช้งานเครือข่าย ทำการสร้าง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายในระยะใกล้ ๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรและธุรกิจต่างๆ มากมาย เช่น - สามารถแบ่งเบาการประมวลผลไปยังเครื่องต่างๆ เฉลี่ยกันไป - สามารถแบ่งกันใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ ซีดีรอมไดร์ฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นต้น
- สามารถแบ่งกันใช้งานซอฟต์แวร์และข้อมูลหรือสารสนเทศต่างๆ รวมทั้งทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้เพียงที่เดียว

- สามารถวางแผนหรือทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้ แม้จะไม่ได้อยู่ใกล้กันก็ตาม - สามารถใช้ในการติดต่อกัน เช่น ส่งจดหมายทางอิเลคท อ่านเพิ่มเติม

อุปกรณ์สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์ที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับข้อมูล ส่งข้อมูล ทวนสัญญาณรวมทั้งขยายเครือข่าย ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. เครื่องทวนสัญญาณ
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการทวนสัญญาณของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะสามารถเปลี่ยนสื่อกลางในการนำสัญญาณจากสื่อกลางหนึ่งไปอีกสื่อกลางหนึ่งได้หรือเป็นการทวนสัญญาณของข้อมูลที่ใช้สื่อชนิดเดียวกันก็ได้ สามารถนำมาใช้ในการขยายจำนวนหรือขนาดของเครือข่ายได้
2. ฮับ
เป็นอุปกรณ์ศูนย์กลางที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสถานี เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ โดยนำสายสัญญาณที่ต่อกับสถานีเชื่อมโยงมาเสียบต่อกับฮับ ฮับจะทำการส่งข้อมูลที่ได้รับจากอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งไปยังทุกอุปกรณ์ในเครือข่าย กล่าวคือทำให้อุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมเข้ากับฮับสามารถสื่อสารกันได้ ดังนั้น หากมีอุปกรณ์ที่ต่ออยู่กับฮับจำนวนมากความเร็วในการรับส่งข้อมูลก็จะยิ่งลดลง
3. เราท์เตอร์

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อเครือข่ายหลายๆเครือข่ายเข้าด้วยกัน มีค อ่านเพิ่มเติม

การเชื่อต่อแบบผสม

แบบผสม(Hybrid Network)
4. แบบผสม (Hybrid Network)    เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบต่างๆหลายๆแบบเข้าด้วยกันคือจะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ หลาย ๆ  เครือข่ายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน
-ข้อดี
1. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายเคเบิลมากนัก
2. สามารถขยายระบบได้ง่าย
3. เสียค่าใช้จ่ายน้อย
-ข้อเสีย

1. อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมีการขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องอื่นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตา อ่านเพิ่มเติม

การเชื่อมต่อแบบดาว

แบบดาว (Star Network)   
   เป็นวิธีการที่นิยมใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเข้ากับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Host Computer) ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องศูนย์กลาง และต่อสายไปยังคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลตามจุดต่างๆ แต่ละจุดเปรียบได้กับแต่ละแฉกของดาวนั่นเอง
ในการต่อแบบนี้ คอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะถูกต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางโดยตรง จึงไม่มีปัญหาการแย่ง การใช้สายสื่อสาร จึงทำให้มีการตอบสนอง
ที่รวดเร็วการส่งข้อมูลแต่ละสถานี (เครื่องคอมพิวเตอร์ย่อยๆ) ก็จะส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางก่อนแล้วตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางนี้จะเป็นผู้ส่งไป
ยังสถานีอื่นๆ การควบคุมการรับส่งภายในระบบทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางดังนั้นถ้าเครื่องศูนย์กลางมีปัญหาขัดข้องก็จะทำให้

ระบบทั้งระบบต้องหยุดช อ่านเพิ่มเติม

การเชื่อมต่อแบบบัส

เครือข่ายแบบบัส (bus topology) 
  เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลา หนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัปเครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส มักจะใช้ในเครือข่ายข อ่านเพิ่มเติม

การเชื่อมต่อแบบวงแหวน

แบบวงแหวน (Ring Network)   
เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างจุดโดยต่อเป็นวงแหวน ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางก็จะรวมอยู่ด้วย การทำงานแต่ละเครื่องจะทำงานของตนเองและการเชื่อมโยงจะทำให้มีการแบ่งงานกันทำและการใช้แอดเดรสของปลายทางเอาไว้เพื่อให้ทราบว่า
ต้องการส่งไปยังเครื่องใด ซึ่งข้อมูลที่ส่งจะผ่านๆทุกจุดในวงแหวน ซึ่งหากมีปัญหาขัดข้องที่สถานนี้ใดก็จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถติดต่อกันได้

เครือข่ายแบบนี้มักใช้เครื่องมินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครค อ่านเพิ่มเติม

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์

รูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. โทโปโลยีแบบบัส

เป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลักษณะการทำงานของเครือข่าย โทโปโลยีแบบบัส คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่าบัส” (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าบัสว่างหรือไม่ ถ้าหากไม่ว่างก็ไม่สามารถจะส่งข้อมูลออกไปได้ ทั้งนี้เพราะสายสื่อสารหลักมีเพียงสายเดียว ในกรณีที่มีข้อมูลวิ่งมาในบัส ข้อมูลนี้จะวิ่งผ่านโหนดต่างๆ ไปเรื่อยๆ ในขณะที่แต่ละโหนดจะคอยตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านมาว่าเป็นของตนเองหรือไม่ หากไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้ข้อมูลวิ่งผ่านไป แต่หากเลขที่อยู่ปลายทาง ซึ่งกำกับมากับข้อมูลตรงกับเลขที่อยู่ของของตน โหนดนั้นก็จ อ่านเพิ่มเติม

วิธีการถ่ายโอนข้อมูล

วิธีการถ่ายโอนข้อมูล
       วิธีการถ่ายโอนข้อมูลเป็นวิธีส่งสัญญาณออกจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลและการรับสัญญาณด้วยอุปกรณ์รับข้อมูล มีการถ่ายโอนอยู่ 2วิธี ดังนี้

1.  การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน เป็นการส่งข้อมูลออกที่ละ 1 ไบต์ หรือ 8บิต จากอุปกรณ์ส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์รับข้อมูล ดังนี้ สื่อกลางหรือสายสัญญาณระหว่างอุปกรณ์ส่งข้อมูลและอุปกรณ์รับข้อมูล จึงต้องมีช่องทางอย่างน้อง 8ช่องทางขนาน กันเพื่อให้สัญญาณไฟฟ้าผ่านไปได้ และระยะทางของสายสัญญาณแบบขนานไม่ควรยาวเกิน 100 ฟุตเพราะอาจจะทำให้เกิดปัญหาเนื่องจากความต้านทานของสาย เนื่องจากนี้อาจมีปัญหาที่เกิดจากกระไฟฟ้าสายดินส่งคลื่นไปก่อก อ่านเพิ่มเติม

สื่อกลางการสื่อสารข้อมูล

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล
   เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และอุปกรณ์นี้ยอมให้ข่าวสารข้อมูลเดินทางผ่านจากผู้ส่งไปยังผู้รับ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันในด้านของปริมาณข้อมูลที่สื่อกลางนั้น ๆ สามารถนำผ่านไปได้ในเวลาขณะใดขณะหนึ่ง การวัดปริมาณหรือความจุในการนำข้อมูล หรือที่เรียกกันว่า แบนด์วิดท์” (Bandwidth) มีหน่วยเป็นจำนวนบิตข้อมูลต่อวินาที (Bit Per Second : BPS) ลักษณะของตัวกลางต่างๆ มีดังต่อไปนี้
1. สื่อกลางประเภทมีสาย (wired system)
สื่อกลางประเภทมีสาย หมายถึง สื่อก อ่านเพิ่มเติม

องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล
        การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
        ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)

        ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ จานด อ่านเพิ่มเติม

ความหมายของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ความหมายและความสำคัญของการสื่อสารข้อมูล/เครือข่าย
การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและได้และใช้ทรัพยากรที่อยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ และทำให้ป อ่านเพิ่มเติม